พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระท่ากระดาน ขุ...
พระท่ากระดาน ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กล่อง
พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน

พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน

แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย

ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น
ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน

พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์

ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง
ในส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง)
หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ)

เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์

ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง

ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ
ผู้เข้าชม
1565 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
ชื่อร้าน
พระเครื่องบ้านสมเด็จ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0953294652
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
126-0-885xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
oQuenCioAmuletManponsrithong2tumlawyerน้ำตาลแดงมัญจาคีรี ud
ponsrithongโกหมูPutanarintonhoppermanเทพจิระเจริญสุข
เปียโนchaithawatvanglannaจ่า ยศกรBAINGERNศรัทธา
chaokohErawantermboonKoonThong_Amuletsแมวดำ99eobeob
neangkokramTinnaponศักดา พระเครื่องZomlazzalifuchoo18TotoTato

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1245 คน

เพิ่มข้อมูล

พระท่ากระดาน ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กล่อง



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระท่ากระดาน ขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กล่อง
รายละเอียด
พระท่ากระดาน ถือว่าเป็นพระประจำเมืองกาญจนบุรี จนได้รับฉายาว่า ขุนศึกแห่งลุ่มแม่น้ำกลอง ที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักของวงการพระเครื่องเมืองไทยมาช้านาน

พระท่ากระดาน เป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยอู่ทอง สันนิษฐานว่า ผู้ที่สร้างมิใช่พระสงฆ์ แต่เป็นฆราวาสที่เรียกกันว่า ฤๅษี ในยุคโบราณ เป็นการสันนิษฐานจากหลักฐานที่ปรากฏบนใบลานเงินลานทอง ในการค้นพบพระเครื่องกรุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และพระเครื่องกรุวัดพระบรมธาตุ จ.กำแพงเพชร ที่ได้กล่าวถึงการสร้างพระเครื่องของบรรดาพระฤๅษีทั้ง ๑๑ ตน

แต่มีฤๅษีอยู่ ๓ ตน ที่ถือว่าเป็นใหญ่ในบรรดาฤๅษีทั้งปวง คือ ฤๅษีตาไฟ ฤๅษีตาวัว และ ฤาษีพิลาลัย

ฤาษีที่สันนิษฐานว่าเป็น ผู้สร้างพระท่ากระดาน ก็คือ ฤๅษีตาไฟ โดยการอาราธนาของ เจ้าเมืองท่ากระดาน

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็นำมาบรรจุไว้ในอารามสำคัญของเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ และเมืองกาญจนบุรีเก่า ในสมัยนั้น
ลักษณะพระพักตร์ (หน้า) ของพระท่ากระดาน เป็นลักษณะพุทธศิลป์อู่ทอง ต้นพระหนุ (ขากรรไกร) พระหนุ (คาง) มีลักษณะยื่นออกมาข้างหน้าอย่างคมสัน เข้าลักษณะของอู่ทองคางคน

พระเนตรปิดสนิท ลักษณะเมล็ดข้าวสาร ปลายเฉียงเข้าหาพระนาสิก (จมูก) ประกอบด้วย การก้มง้ำของพระพักตร์ มุมพระโอษฐ์ (ปาก) ทั้ง ๒ ข้างเน้นเป็นร่องลึก ทำให้ปรากฏแววยิ้มบนพระพักตร์

ดังนั้น พระพักตร์ของพระท่ากระดานจึงมีลักษณะเคร่งขรึม แต่แฝงไว้ด้วยรอยยิ้มดันอ่อนโยน อย่างน่าพิศวง
ในส่วนของพระอุระ (อก) ลำพระองค์ และเส้นสังฆาฏิ โดยรวมมีลักษณะพระอุระผายกว้าง ตอนส่วนบนปาดเป็นเต้าสูง และสอบคดลงเบื้องล่าง ในแนวพระอุทร (ท้อง)
หากมองดูแบบผิวเผิน พระอุระ (อก) จะมีลักษณะคล้ายรูปหัวช้าง (เช่นเดียวกับที่ปรากฏในพระผงสุพรรณ)

เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นหนา พาดพระอังสา (ไหล่) เบื้องซ้ายขององค์พระ ลักษณะของเส้นสังฆาฏิ ที่น่าสังเกตประการหนึ่ง คือ ปลายส่วนบนที่พาดพระอังสานั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ปลายเส้นสังฆาฏิบริเวณนี้ เลือนหายเข้าสู่บริเวณกระดูกไหปลาร้า ใต้คางขององค์พระ เหมือนไม่ใช่พาดเหนือไหล่ เป็นลักษณะเช่นนี้ในพระทุกองค์

ส่วนพระเพลา หรือหน้าตักของพระท่ากระดานทุกกรุ มีส่วนของความหนาและแน่น ทับซ้อนกันอย่างแข็งทื่อ แน่นหนาอย่างมั่นคง

ความเป็นศิลปะอู่ทองอีกส่วนหนึ่งคือ ฐาน เป็นแบบ พระอู่ทองฐานสำเภา คือเป็นฐานเขียงชั้นเดียว แสดงลักษณะแง่สันแท่งเหลี่ยม เมื่อพิจารณาจากด้านข้าง เห็นว่ามีความเฉียงลาดข้างบนเล็ก ข้างล่างบางใหญ่ เป็นฐานเกลี้ยงปราศจากบัวหรือสิ่งอื่นใด

พระท่ากระดาน มีการค้นพบ และขึ้นจากกรุหลายต่อหลายครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการ และถูกลักลอบขุด หากขึ้นหรือพบในยุคแรกๆ นิยมเรียกว่า พระกรุเก่า ส่วนที่มีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ เรียกว่า พระกรุใหม่ ความเป็นจริงแล้ว ทั้งพระกรุเก่าและพระกรุใหม่ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันทั้งสิ้น จะต่างก็เฉพาะระยะเวลาของการขุดพบพระกรุนั้นๆ
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
1566 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
พระเครื่องบ้านสมเด็จ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0953294652
ID LINE
0953294652
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 126-0-885xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี